วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการสร้างแมโครในไมโครซ๊อฟต์เวริ์ด

1.ไปที่ start แล้วไปที่ programs แล้วจะมี programs ต่างๆขึ้นมา แล้วจะมี


programs microsoft office แล้วเลือกที่ microsoft word ก้จะเป็นดังรูปแ


2.แล้วเข้าไปที่เปิดเข้าไปใน word เลือกที่เครื่องมือ แล้วไปที่แมโครก็จะเป็นดังรูป

3.แล้วเราก็สร้างคำสั่ง



วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งเบื้องต้นของภาษา C

1. ฟังก์ชัน scanf()รูปแบบscanf("format code", & var);เมื่อโปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัวแปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัวกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูลของฟังก์ชัน scanf() จะเหมือนกับของฟังก์ชันprintf() ฟังก์ชัน scanf() จะทำให้เคอร์เซอร์ ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enterตัวอย่าง#include "stdio.h"#include "conio.h" void main() { int a,b,c; clrscr(); printf("Enter three integer numbers : "); scanf("%d%d%d",&a,&b,&c); printf("a = %d b = %d c = %d \n",a,b,c); }เป็นการป้อนเลขจำนวนเต็ม 3 ตัวให้กับตัวแปร a,b และ c ในการป้อนตัวเลขให้เว้น ช่องว่างระหว่างตัวเลขแต่ละชุดซึ่ง scanf() จะข้อมช่องว่างไปจนกระทั่งพบตัวเลขจึงจะอ่านข้อมูลอีกครั้ง2. ฟังก์ชั่น printf() เป็นฟังก์ชั่นใช้ พิมพ์ค่าข้อมูลไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง การใช้งานฟังก์ชัน printfint i = 10; printf(“\n test %d”,i);รหัสรูปแบบ (Format Code) ที่ใช้ในการแสดงผล ใช้ร่วมกับรหัส back slash(ในที่นี้คือ \n ซึ่งหมายถึง ขึ้นบรรทัดใหม่) และเครื่องหมาย % ซึ่งมีความหมายดังนี้%d ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบ%ld ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบแบบ long%u ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบแบบ unsigned%c ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร%s ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวแปรสตริงหรือชุดตัวอักษร%o ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขฐานแปด%x ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขฐานสิบหก%f ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ที่ไม่มีเลขยกกำลัง%e ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ที่มีเลขชี้กำลัง%lf ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยมแบบ doubleตัวอย่าง#include #include void main(void){int n;clrscr();n=100;printf("Number = %d",n);getch();}3. ฟังก์ชัน getchar() ฟังก์ชัน getchar() ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพรูปแบบch = getchar();เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้นกด Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปร ch ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและเคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getchar() กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()
ตัวอย่าง#include void main() { char ch; printf("Type one character "); ch = getchar(); printf("The character you type is %c \n",ch); printf("The character you typed is "); putchar(ch);}การใช้ฟังก์ชัน putchar() แทน printf() จะพิมพ์ตัวอักษร 1 ตัว และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ 4. ฟังก์ชัน getche() และ getch()รูปแบบch = getche(); ch = getch();ฟังก์ชัน getche() จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์ และจะแสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche() ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล ฟังก์ชัน getche() และ getch() กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม
ฟังก์ชัน getche()ฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดตัวอักษร ผ่านแป้นพิมพ์ 1 ตัวอักษร และแสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ และเป็นฟังก์ชันที่กำหนดอยู่ในไฟล์ conio.hรูปแบบคำสั่งความหมายch หมายถึง ตัวแปรชนิดตัวอักษร
ฟังก์ชัน getch()
คือฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดตัวอักษร ผ่านแป้นพิมพ์ 1 ตัวอักษร จะไม่แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนตัวอักษรเสร็จแล้ว ไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ และเป็นฟังก์ชันที่กำหนดอยู่ในไฟล์ conio.h รูปแบบคำสั่ง ความหมาย ch หมายถึง ตัวแปรชนิดตัวอักษรตัวอย่าง ฟังก์ชัน getche()#include #include void main(void){char answer;clrscr();printf("Enter A Character : ");answer=getche();printf("\n");printf("A Character is : %c\n",answer);getch();}ตัวอย่าง ฟังก์ชัน getch()#include #include void main(void){char answer;clrscr();printf("Enter A Character : ");answer=getch();printf("\n");printf("A Character is : ");putchar(answer);getch();}5. ฟังก์ชัน gets() , puts()ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์ รูปแบบgets(str);เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ เมื่อป้อนเสร็จแล้วกด Enter ข้อความ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย carriage return (จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ ฟังก์ชัน gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่ หลังจากกด Enter กำหนดในไฟล์ stdio.hในการแสดงผลและรับค่าของ string นั้นนอกจากฟังก์ชั่น printf() กับ scanf() แล้วเรายังมาสารถใช้ฟังก์ชั่น puts() กับ gets() อีกด้วย1.puts() ฟังก์ชั่นแสดงค่า stringรูปแบบputs(ตัวแปร); หรือ puts("คำที่ต้องการ");2.gets() ฟังก์ชั่นรับ stringgets(ตัวแปร);ในฟังก์ชั่น puts() นั้นจะแสดงข้อความและขึ้นบรรทัดใหม่ให้โดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องในเครื่องหมายควบคุม \n ส่วนฟังก์ชั่น gets() นั้นไม่แตกต่างจาก scanf() เลยใช้ง่ายกว่าด้วยซ้ำไปตัวอย่าง#include#include#includevoid main(){ char name[20] = "john lee"; char ques[20] = "what's your name";clrscr();puts(ques); //หรือใช้แบบนี้ puts("what's your name"); gets(name);printf("\nyour name is : %s",name);getch();}ฟังก์ชั่น puts() ความสามารถน้อยกว่า printf() ตรงที่ไม่สามารถแสดงทั้งข้อความพร้อมกับดึงตัวแปรมาแสดงได้ ผมเลยใช้ printf() แสดงผลจากการรับค่าแทนผลการรันโปรแกรมในบรรทัดแรกแสดงคำว่า "What's your name" จากคำสั่ง puts(ques); ต่อมามันจะรอรับค่าจากคำสั่ง gets(name); ในตัวอย่างผมป้อนคำว่า "louis" จากนั้นเมื่อกด enter ค่าก็จะถูกส่งไปเก็บใว้ที่ตัวแปร name จากนั้นผมก็ให้แสดงผลเพื่อทดสอบดูว่ามีค่าจริงหรือไม่จากคำสั่ง printf();
ประวัติของภาษาซี
ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีลักษณะเด่นพอสรุปได้ดังนี้
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง" จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
- เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการ ความรวดเร็วเป็นสำคัญ
- มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
- มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
- เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
- เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา และวิธีการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตั๊วส่วนตัว^_^"


ชื่อ นางสาวพนิดา แท่นนิล


ชื่อเล่น นู๋ตั๊ก


กำลังศึกษาชั้นปวช.2/3

แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ




คติประจำใจ ชีวิตแม้เลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกที่จะเป็นคนดีได้